Takt Time กับการลดสินค้าคงคลัง

Takt Time กับการลดสินค้าคงคลัง

 

EP2 : Takt time กับการลดสินค้าคงคลัง

จาก EP1 ที่แล้วที่ได้อธิบายถึง takt time ที่ช่วยทำให้
1. มีปริมาณสินค้าคงคลัง ( Inventory ) ที่น้อยที่สุด
2. มีความสามารถในการทำงาน ( Standardized work ) อย่างเต็มประสิทธิภาพ

ซึ่งทั้ง 2 ประเด็นนี้ จำเป็นต้องเข้าใจในเรื่องของ takt time
.
.
ติดตามย้อนหลังได้ที่ :
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=468040071441124&id=103104361268032

————————————–

สำหรับเนื้อหาในตอนที่ 2 นี้ จะมาอธิบายว่า การกำหนด takt time ( ตามหลักการของลีน ) จะช่วยทำให้สินค้าคงคลัง มีปริมาณที่น้อยที่สุดได้อย่างไร ?

ก่อนอื่นเลยนั้น
การเก็บปริมาณสินค้าคงคลัง โดยเฉพาะสินค้าสำเร็จรูป และ สินค้าระหว่างผลิต มักมีปัจจัยหลักๆ คือ มาจาก
1. ความผันผวนการเรียกสินค้าจากลูกค้า
2. ระบบในการวางแผนผลิต รวมไปถึงการจัดวางเครื่องจักร/กระบวนการสายการผลิต
3. ปริมาณการผลิตขั้นต่ำ ( Minimum lot size ) เพื่อให้คุ้มต่อการผลิต ต่อครั้ง
เป็นต้น

————————————–

ที่นี้ถ้าสมมติว่า
1. เรามีเครื่องจักรในการผลิต 3 เครื่อง คือ A , B , C
2. โดยทั้ง 3 เครื่อง สามารถปรับความเร็วได้
3. พนักงานทำงานร่วมกับเครื่องจักรมีความเร็วที่ 0.2 นาที/ชิ้น/เครื่อง

โดยมีความต้องการของลูกค้า ที่ 800 ชิ้นต่อวัน ( 1 วันทำงาน 8 ชม. )
.
.
ดังนั้นจากข้อมูลนี้ สรุปได้ว่า
1. มีความเร็วในการผลิต คือ 60นาที * 8ชม.ทำงาน หารด้วย 800 ชิ้น/วัน = 0.6 นาที/ชิ้น ( นั่นคือ takt time = 0.6 นาที/ชิ้น )
2. สามารถกำหนดความเร็วของเครื่องจักรได้ที่ 0.6 นาที/ชิ้น ( แต่ถ้าไม่สามารถปรับความเร็วเครื่องได้ ต้องใช้หลักการของ line balancing )
3. พนักงานทำงานด้วยความเร็ว 0.2 นาที/ชิ้น

ฉะนั้นจะพบว่า ในกระบวนการผลิตทั้ง 3 เครื่องนี้ จะทำงานได้แบบ one piece flow ( ไหลทีละชิ้น )
ที่สัมพันธ์กับ takt time ( T.T = 0.6 นาที/ชิ้น โดยแต่ละเครื่องก็ทำงานด้วย 0.6 นาที/ชิ้น เช่นกัน )
ทำให้ไม่มี สินค้าระหว่างผลิต เลย

และส่งผลทำให้ สินค้าสำเร็จรูป เพื่อการจัดส่ง ก็จะมีน้อยที่สุดได้ด้วยเช่นกัน เพราะมีความเร็วในการผลิตสอดคล้องกับความเร็วในการสั่งสินค้าของลูกค้า

*************************
ในกรณีของการจัดสรรกำลังพลเพื่อการผลิตนี้ จะขออธิบายใน EP3 เรื่อง standardized work ( STW )
*************************

หมายเหตุ :
ในหลักการของลีน เราจะกำหนดตัวแปร ในรูปของ “ต่อหน่วย” เสมอ เช่น
1. ต้นทุน/ชิ้น
2. ความเร็วของเครื่อง นาที/ชิ้น
3. ความสามารถในการผลิตของพนักงาน นาที/ชิ้น
4. จุดตรวจสอบคุณภาพสินค้า จำนวนจุดตรวจสอบ/ชิ้น
เป็นต้น

————————————–

อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่มีเงื่อนไขที่แตกต่างไปจากนี้
การจัดทำ line balancing และ กำลังพล เพื่อให้ได้ one piece flow
จำเป็นต้องมีเครื่องมือที่เรียกว่า Just in Time ( J.I.T )
เพื่อให้บริษัทมีระบบลีน ทำให้มีสินค้าคงคลังที่ต่ำที่สุด

————————————–

ถ้าองค์กรของท่าน ประสบปัญหาในเรื่องลีน
สามารถติดต่อสอบถาม ปรึกษา ได้ฟรี
สามารถติดต่อ :
FB : www.facebook.com/leantrinity
Line ID : @leantrinity
Tel : 089-8347733
Website : www.leantrinity.com

โค้ชบี้ สัญเชษฐ์
Lean Trinity Academy