30 ม.ค. ความเข้าใจใน Takt Time ต่อการลดต้นทุน
EP1 : Takt time กับการสร้างลีนในบริษัท
ถ้าต้องการทำให้บริษัท มีปริมาณสินค้าคงคลัง ( Inventory ) ที่น้อยที่สุด และมีความสามารถในการทำงาน ( Standardized work ) อย่างเต็มประสิทธิภาพ
เราจำเป็นต้องเข้าใจในเรื่องของ takt time
.
.
Takt time ( T.T ) คือ เวลาในการผลิตสินค้าให้ได้ออกมา 1 หน่วย โดยอ้างอิงจากความต้องการของลูกค้า
ตัวอย่างเช่น
– ความต้องการของลูกค้า คือ 10000 ชิ้น/เดือน
– ซึ่งบริษัทมีเวลาทำงาน 22 วันทำงาน * 8 ชั่วโมง/วัน * 60 นาที/ชั่วโมง = 10560 นาที/เดือน
– ดังนั้น T.T จึงเท่ากับ 10560 นาที/เดือน หารด้วย 10000 ชิ้น/เดือน = 1.056 นาที/ชิ้น
นั่นคือ ทุกๆ 1.056 นาที เราจะได้ชิ้นงานออกมา 1 ชิ้น นั่นเอง
และคือ หลักการของ takt time ที่สอดคล้องกับการผลิตแบบลีน ที่เป็น one piece flow
————————————–
อย่างไรก็ตามหลายบริษัท มักไม่นิยมใช้ค่าการคำนวนนี้ แต่จะใช้เป็นค่า ความสามารถในการผลิต ที่มีหน่วยเป็น ชิ้น/ชั่วโมง
เพราะมันง่ายที่จะทำให้รู้ว่า เครื่องจักรหรือการทำงานของคน สามารถทำได้ กี่ชิ้น/ชั่วโมง
เช่น ในที่นี้ คือ 10000 หาร 22*8 = 56.8 ชิ้น/ชั่วโมง
แล้วเราก็นำเอาค่านี้ไปวางแผนการผลิต
.
.
ก็สามารถทำได้ แต่มันไม่ใช่หลักการของการทำลีน เพื่อการลดต้นทุนการผลิต ( ลด inventory/เพิ่มความสามารถในการผลิต )
————————————–
กลับมาที่ค่า takt time ที่เราได้
มันนำไปใช้ประโยชน์อะไร ??
.
.
1. ในด้านของการลดสินค้าคงคลัง ( Inventory )
การลดสินค้าคงเหลือนั้นให้เหลือน้อยที่สุดที่จะส่งมอบลูกค้าได้ทันเวลา จะเกี่ยวข้องกับการทำ just in time
และการทำ just in time ก็จำเป็นต้องนำค่า takt time นี้มาใช้
เพื่อวิเคราะห์ และหาจุดปรับปรุงในการทำงาน โดยยังคงส่งมอบได้ทันเวลา ในขณะเดียวกันก็สามารถลดสินค้าคงคลังได้ในทุกๆพื้นที่
( ทั้งวัตถุดิบ สินค้าระหว่างกระบวนการ และ สินค้าสำเร็จรูป )
.
.
2. การทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ( Standardized work )
มันเกี่ยวข้องกับความสามารถในการผลิตทั้งตัวเครื่องจักรและพนักงาน โดยเครื่องมือที่เรียกว่า standardized work ( STW ) จะถูก
นำมาใช้งาน ที่ takt time จะเป็นตัวแปรหนึ่งของเครื่องมือชนิดนี้
และเมื่อเรารู้ takt time แล้ว เราจำเป็นต้องรู้ cycle time ( หรือความสามารถในกระบวนการ ที่จะผลิตให้ทันต่อ takt time )
ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการปรับปรุงกระบวนการทำงานให้ดียิ่งขึ้นได้
( ถ้าเพียงแค่การคำนวนด้วยความสามารถในการผลิต ( capacity – ชิ้น/ชั่วโมง …. เราจะไม่สามารถนำข้อมูลมาทำการปรับปรุงอะไรได้
ส่งผลทำให้ไม่สามารถวิเคราะห์ หาจุดที่เป็น non-value added / muda ได้
ก็ทำให้ไม่สามารถปรับปรุง เพื่อการลดต้นทุนได้ นั่นเอง )
.
.
ฉะนั้นทั้ง 2 เครื่องมือนี้ ที่เป็นส่วนหนึ่งของระบบลีน คือ
1. Just in time
2. Standardized work
จำเป็นต้องใช้ takt time ในการทำให้บรรลุผลสำเร็จในด้านสินค้าคงคลัง และ ความสามารถในการผลิต
แล้วเราจะนำ takt time ไปใช้ใน 2 เครื่องมือนี้อย่างไร
ติดตามได้ใน EP ถัดไป ครับ
สนใจการใช้หรือพัฒนาแพล๊ตฟอร์มทางด้านลีนเทคโนโลยี
หรือติดต่อเพื่อสอบถาม/พูดคุยรายละเอียด ได้ฟรี ++
เพื่อให้สามารถใช้ข้อมูลในการสร้างผลกำไรที่มากขึ้น
สามารถติดต่อ :
FB : www.facebook.com/leantrinity
Line ID : @leantrinity
Tel : 089-8347733
Website : www.leantrinity.com
โค้ชบี้ สัญเชษฐ์
Lean Trinity Academy