แพล๊ตฟอร์มในการสร้างกระบวนการคิด วิเคราะห์ และแก้ปัญหา เพื่อปรับปรุง ตัวชี้วัดของบริษัท ให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ตามต้องการ
( Management by objective )
ดังนั้นถ้าบริษัทของคุณมีปัญหาแบบนี้ ที่ตัวชี้วัด ( KPI) ไม่สามารถไปถึง
เป้าหมายได้ นั่นแสดงว่าคุณพร้อมที่จะใช้แพล๊ตฟอร์มนี้
95% +
ความสามารถ ในการพัฒนา
ด้านความคิด วิเคราะห์ และแก้ปัญหา เพื่อให้ KPI บรรลุผล
90% +
การตรงต่อเวลา ในการแก้
ปัญหาให้เสร็จได้ตามแผนงาน
ที่กำหนดไว้
1,000,000 +
บาท/ปี ในการสร้างผลกำไร/ลด
ต้นทุนผ่านแพล็ตฟอร์มนี้
ถ้าองค์กรของท่านกำลังประสบปัญหาเหล่านี้
แพล๊ตฟอร์มนี้สามารถช่วยคุณได้
20 ปัญหาพบบ่อย ที่อุตสาหกรรมการผลิตประสบอยู่ สามารถแก้ไข ได้โดยง่าย คือ
การที่บริษัทนั้นมีต้นทุนการผลิตที่สูง และส่งผลทำให้มีกำไรน้อยลง ซึ่งมีหลายปัจจัย คือ
1. การมีความสูญเปล่า หรือ สิ่งที่ไม่ก่อให้เกิดมูลค่า ( non-value added ) ในกระบวนการผลิตมาก
2. ต้นทุนวัตถุดิบที่ซื้อมีราคาแพงกว่าปกติ
3. ขาดความสามารถในเพิ่มยอดขาย
ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ เกิดจากการที่บริษัทอาจจะไม่ได้พิจารณาข้อมูลด้วยตัวชี้วัด ( KPI ) ทำให้ไม่สามารถมองเห็นปัญหา
และนำไปสู่กระบวนการปรับปรุง เพื่อทำให้ปัจจัยเหล่านี้ดีขึ้น
แพล๊ตฟอร์ม SMP สามารถช่วยได้ เพราะถูกออกแบบมา เพื่อให้มีการกำหนดตัวชี้วัด สร้างให้เกิดการปรับปรุงอย่างเป็นขั้นเป็นตอน และดำเนินการให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมได้
พร้อมมี data analysis ที่ทำให้องค์กรมีแรงกระตุ้นให้ปรับปรุง โดยหลายองค์กรที่นำไปใช้งานแล้วสามารถลดต้นทุนหรือสร้างผลกำไรได้ไม่ต่ำกว่าปีละ 1 ล้านบาท
บริษัทต่างๆที่มีระบบ ISO- ซึ่งมีการกำหนดนโยบายหรือตัวชี้วัดประจำปี แต่เมื่อได้มอบหมายไปยังพนักงานแล้วพบว่าไม่สามารถขับเคลื่อนให้สำเร็จผลได้มากพอ เพราะ
1. ขาดกระบวนการคิด วิเคราะห์ ดำเนินการแก้ปัญหา
2. ขาดการติดตามอย่างต่อเนื่อง ทำให้งานล่าช้า
3. การจัดการ/บริหารเวลาในการแก้ปัญหาที่ไม่เหมาะสม
แพล๊ตฟอร์ม SMP สามารถช่วยได้ เพราะทุกตัวชี้วัดจะถูกกำหนดไว้ในโปรแกรม ทำให้สามารถติดตามงานได้ครบถ้วนอีกทั้งมีเทมเพลตที่ออกแบบให้บันทึกข้อมูลอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ( ทำให้ผู้ใช้งานมีวิธีคิด วิเคราะห์ และ แก้ปัญหา ด้วยแนวคิด kaizen ) จึงมั่นใจได้ว่าผู้ใช้งานจะไม่หลงประเด็น ไม่สับสนในขั้นตอน พร้อมตารางควบคุมเวลา
ทำให้มีความตระหนักในการดำเนินการเพื่อสำเร็จผลได้ตามแผนงานที่กำหนดไว้
โดยมั่นใจได้ 100% ครบทุกตัวชี้วัด
การที่มองปัญหาของตนเองไม่ออก คือ รู้ว่ามันเป็นปัญหา แต่ไม่รู้ว่าจะวัดค่าได้อย่างไร เพื่อให้รู้ว่ามันเป็นปัญหามากน้อยเพียงใด และปัญหาใดควรจะต้องรีบดำเนินการแก้ไขโดยด่วน ซึ่งจากผลอันนี้เอง ส่งผลทำให้ขาดไอเดียในการปรับปรุงให้เป็นรูปธรรม
แพล๊ตฟอร์ม SMP สามารถช่วยได้ เพราะทุกปัญหาจะถูกแปลงออกมาให้เป็นตัวชี้วัดที่ชัดเจน วัดผลได้ ทำให้ผู้ใช้งานสามารถแจกแจงรายละเอียดของปัญหาได้ เกิดการวิเคราะห์หาสาเหตุ และนำมาซึ่งการปรับปรุง
ตัวอย่างเช่น พนักงานบัญชีมีปัญหาส่งรายงานภาษีประจำเดือนให้สรรพากรไม่ทัน ซึ่งตนเองและผู้บริหารก็รู้ว่าเป็นปัญหา แต่มันวัดผลออกมาด้วยตัวชี้วัดอะไร เป็นปัญหามากน้อยแค่ไหน ?
ด้วยแพล๊ตฟอร์มนี้จะเป็นเครื่องมือให้สามารถแปลงออกมาเป็นค่าวัด เช่น โดยค่าเฉลี่ยในรอบ 6 เดือน พบว่า ส่งล่าช้าเกินที่สรรพากรกำหนดไว้ 5 วัน ( Delay = 5 วัน จากเป้าหมาย 0 วัน ) ซึ่งประเด็นหลักมาจากทางหน้างานส่งเอกสารล่าช้ากว่ามาตรฐาน
ถึงตอนนี้ก็จะรู้แล้วว่าต้องแก้ปัญหาที่จุดไหน และด้วยวิธีการใดบ้างกับหน้างาน ตามลำดับ เป็นต้น
เพราะการปรับปรุงนั้น จะมีกระบวนการที่เป็นขั้นตอน ที่ซึ่งผู้ใช้งานจำเป็นต้องเข้าใจ และนำไปใช้งานอย่างต่อเนื่อง
ดังนั้นถ้าไม่ได้ผ่านการฝึกอบรม หรือ เรียนรู้มาแบบผิดๆ ก็จะส่งผลทำให้ไม่สามารถตีโจทย์ของปัญหา
ทักษะเหล่านี้ต้องผ่านการเพาะบ่มและใช้บ่อยๆจนชำนาญในการคิด วิเคราะห์ และกระบวนการแก้ปัญหา
แพล๊ตฟอร์ม SMP สามารถช่วยได้ เพราะก่อนการใช้งานจะผ่านการสอนให้เข้าใจ โดยผู้เชี่ยวชาญ ( ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ) จากนั้นก็สามารถใช้งานได้ตามขั้นตอนที่ถูกกำหนดไว้ในโปรแกรม , สามารถที่จะมองปัญหาที่จะนำมาแก้ปัญหาได้โดยง่าย และเมื่อมีทักษะแล้วก็จะมีไอเดียในปรับปรุงหลากหลาย
ซึ่งองค์กรต่างๆที่นำแพล๊ตฟอร์มนี้ไปใช้งาน สามารถยกระดับความสามารถของพนักงานได้มากกว่า 95% เช่น NIKON , KDC , OIZURU เป็นต้น
การแก้ปัญหานั้นมีหลายประเภท ซึ่งวิธีการที่หลายๆบริษัทชอบใช้กันเพราะมันง่าย คือ การแก้ปัญหาประเภทดับอาการ
เช่น เครื่องจักรหยุดผลิตเพราะมอเตอร์ไหม้ วิธีการแก้ปัญหาคือ เปลี่ยนมอเตอร์ใหม่ เครื่องจักรก็กลับมาผลิตได้ตามปกติ แล้วเมื่อผ่านไปสักระยะหนึ่ง มอเตอร์ก็ไหม้อีก เพราะว่าเราเพียงแค่ดับอาการของมัน ( เหมือนเราปวดหัว ก็ใช้วิธีการทานยา เพื่อดับอาการปวดหัว แต่ไม่ได้หาต้นตอของสาเหตุ เพื่อกำจัดมัน )
แพล๊ตฟอร์ม SMP สามารถช่วยได้ เพราะว่ามุ่งเน้นการค้นหาสาเหตุ และหาวิธีการกำจัดสาเหตุนั้นๆ ( ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ถูกกำหนดไว้ในเทมเพลต ) พร้อมมาตรฐานการควบคุม ส่งผลทำให้ปัญหาจากสาเหตุนั้นไม่เกิดขึ้นซ้ำเดิม
และสามารถนำไปขยายผลไปยังแผนกอื่นที่มีลักษณะคล้ายกันได้ง่ายผ่านแพล๊ตฟอร์มนี้ ทำให้แผนกอื่นๆ ก็จะไม่เกิดปัญหาในลักษณะนี้ด้วยเช่นกัน
จากประสบการณ์ในการเป็นวิทยากรสอนเรื่องการปรับปรุง พบว่าร้อยละ 95% ล้มเหลวที่จะนำกระบวนการคิดแก้ปัญหาแบบ Kaizen ไปใช้ในองค์กร เพราะด้วยหลายปัจจัย เช่น
1. เรียนรู้เพียง 6-8 ชั่วโมง อาจจะได้แค่เข้าใจ แต่เข้าไม่ถึงลำดับขั้นตอนการเชื่อมโยงในการแก้ปัญหา
2. ไม่สามารถแปลงปัญหาที่มีอยู่ เพื่อนำความรู้เรื่องการปรับปรุงที่เรียนมาใช้งานได้จริง
3. ขาดผู้รู้ที่จะให้คำแนะนำเมื่อต้องประยุกต์ใช้ในบริษัทของตน จนล้มเลิกไป
ทำให้บริษัทเสียค่าใช้จ่ายไปปีละหลายบาท แต่ไม่ผลที่ไม่คุ้มค่า
แพล๊ตฟอร์ม SMP สามารถช่วยได้ เพราะเราได้แปลงองค์ความรู้ทั้งหมดของ kaizen มาอยู่ในรูปแบบของแพล๊ตฟอร์มสำเร็จรูปนี้ ทำให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าใจ และเข้าถึงลำดับเป็นขั้นเป็นตอนที่เชื่อมโยงกันอัตโนมัติ สามารถแปลงปัญหาในเชิงนามธรรมให้เป็นรูปธรรมเพื่อนำไปแก้ปัญหาได้ พร้อมผู้เชี่ยวชาญที่คอยให้คำแนะนำได้ตลอดเวลา
หมดกังวลว่าจะล้มเหลวกับการนำแนวคิดเรื่องการปรับปรุงไปใช้งาน ด้วยแพล๊ตฟอร์มนี้
หลายบริษัทยังคงใช้โปรแกรม excel ในการทำเอกสาร/รายงานการแก้ปัญหา ( Problem solving report ) ซึ่งพนักงานหน้างานอาจจะไม่ถนัดใช้งาน ส่งผลทำให้เสียเวลามากกับการทำรายงาน ( แทนที่จะเอาเวลาส่วนใหญ่ไปหาวิธิการ/มาตรฐานในการแก้ปัญหา ) ซ้ำร้ายไปกว่านั้น อาจจะถึงขั้นไม่ทำรายงานเลย
ด้วยแพล๊ตฟอร์ม SMP สามารถช่วยได้ เพียงแค่กรอกข้อมูล ทำการบันทึก ก็จะได้รายงานออกมาโดยอัตโนมัติ ทั้งในรูปแบบ A4 และ A3 report และหัวหน้าก็สามารถเห็นข้อมูลได้โดยทันทีเช่นกัน สะดวก และรวดเร็ว
ยุคดิจิตัล ความง่าย ความรวดเร็ว ย่อมสร้างความได้เปรียบมากกว่าการใช้แบบเดิมๆ คือ excel
และเช่นกันในอีกหลายบริษัท ( หลายบริษัทยังคงใช้โปรแกรม excel ในการทำเอกสาร/รายงานการแก้ปัญหา ) ก็ทำรายงานในรูปแบบการเขียนด้วยมือ ซึ่งเขียนง่าย แต่บ่อยครั้งสิ่งที่เขียนนั้นอ่านไม่ออก ส่งผลเสียต่อการนำไปใช้งาน อีกทั้งสิ้นเปลืองเอกสาร สิ้นเปลืองแฟ้มจัดเก็บ การดูแลรักษา และยากในการค้นหาเมื่อต้องการใช้งาน
แพล๊ตฟอร์ม SMP สามารถช่วยได้ เพราะเพียงแค่กรอกข้อมูล ทำการบันทึก ก็จะได้รายงานออกมาโดยอัตโนมัติ ทั้งในรูปแบบ A4 และ A3 report โดยสามารถอนุมัติได้ผ่านระบบ จึงไม่จำเป็นต้องพิมพ์ออกมาเป็นเอกสาร ประหยัดการใช้กระดาษ/หมึกพิมพ์ และประหยัดการจัดเก็บ
เกือบทุกองค์กรจะมีลำดับการรวบรวมข้อมูล คือ
1. การจัดทำรายงานด้วย excel หรือด้วยการกรอกด้วยมือ
2. พิมพ์ออกมาเพื่อให้หัวหน้าพิจารณาอนุมัติ
3. จัดเก็บในรูปแบบไฟล์ที่เครื่องส่วนตัวและหรือเก็บที่ไฟล์กลาง
4. และหรือจัดเก็บเอกสารเข้าแฟ้ม ( เข้าตู้เก็บเอกสาร )
5. เมื่อจะนำมาสรุปประเมินผล ก็ร้องขอจากพนักงานเพื่อนำมาสรุปผล
6. และเมื่อต้องการหาข้อมูลเก่าๆ เพื่อนำประยุกต์กับการแก้ปัญหาอื่นๆ ก็ต้องไปค้นหาตามไฟล์กลาง
7. หรือต้องการจะแบ่งปันให้พนักงานอื่นๆได้เรียนรู้ ก็ต้องหาเสาะหาเอง
แน่นอนว่ามันสามารถทำได้ โดยเอาหลายๆเครื่องมือมารวมกันเพื่อสร้างกระบวนการเหล่านี้ขึ้นมา
แต่จะเห็นว่ามันมีกระบวนการที่วุ่นวาย สิ้นเปลืองทั้งค่าใช้จ่ายและเวลา ทำให้ performance ขององค์กรต่ำ แข่งขันได้ยากกับโลกดิจิตอลในอนาคต ( แข่งขันกันที่ความเร็ว และ ทักษะขั้นสูงของพนักงาน )
แต่แพล๊ตฟอร์ม SMP สามารถช่วยได้ เพราะทุกกระบวนการเหล่านี้ สามารถดำเนินการได้ในแพล๊ตฟอร์มนี้เพียงเครื่องมือเดียวเท่านั้น
– มอบหมาย
– บันทึกและอนุมัติ ได้ผ่านระบบ โดยง่าย
– รวบรวม/เก็บข้อมูลไว้ที่ที่เดียวกัน
– สรุปและประเมินผลในเชิง performance ต่างๆ ได้ทันที
– สามารถค้นหาได้ง่าย เพื่อนำไปประยุกต์ หรือ เป็นแหล่งเรียนรู้
การสื่อสารเพื่อให้คำแนะนำระหว่างหัวหน้ากับพนักงานนั้น เรามักใช้เมล์ หรือ ไลน์ หรือการบอกกล่าวโดยตรง เป็นการสื่อสารที่ไม่ค่อยมีประสิทธิภาพที่ดีพอสำหรับงานปรับปรุง ( Kaizen ) เพราะว่าในการแก้ปัญหานั้น เราไม่ได้สื่อสารแค่ครั้งเดียวแล้วจบ แต่มันต้องต่อเนื่อง
แพล๊ตฟอร์ม SMP สามารถช่วยได้ เพราะมีฟังก์ชั่นในการสื่อสารให้คำแนะนำได้แบบ one by one ในแต่ละรายการ ระหว่างหัวหน้ากับพนักงาน ทำให้การแก้ปัญหามีประสิทธิภาพสูง และลดความผิดพลาดจากการสื่อสารผิดพลาดด้วย
การสื่อสารในปัจจุบัน เรามักใช้เมล์ หรือ ไลน์ หรือการบอกกล่าวโดยตรง เป็นการสื่อสารที่ไม่ค่อยมีประสิทธิภาพที่ดีพอสำหรับงานปรับปรุง ( Kaizen ) เพราะว่าในการแก้ปัญหานั้น เราไม่ได้สื่อสารแค่ครั้งเดียวแล้วจบ แต่มันต้องต่อเนื่อง
เช่น
ถ้าเรามีปัญหาที่ต้องสื่อสารกัน 10 เรื่อง แต่ละเรื่องมีการสื่อสารกัน 5 ครั้ง โดยมีผู้เกี่ยวข้อง 3 คน
นั่นคือเรามีข้อมูลสื่อสารกัน 10*5*3 = 150 รายการ
ถ้าเราใช้ทั้ง เมล์ ทั้ง ไลน์ ทั้งพูดคุย ความสับสน/วุ่นวาย การปะติดปะต่อในตรงกับปัญหานั้นๆ การจัดเก็บแยกประเภทจะยุ่งยาก ส่งผลทำให้ประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาต่ำ
แต่ด้วยแพล๊ตฟอร์ม SMP สามารถช่วยได้ เพราะมีฟังก์ชั่นในการสื่อสารแบบ one by one ในแต่ละรายการ แต่ละผู้เกี่ยวข้อง ทำให้การแก้ปัญหามีประสิทธิภาพสูง และลดความผิดพลาดจากการสื่อสารผิดพลาดด้วย
ความร่วมมือในการวิเคราะห์และการแก้ปัญหาร่วมกันนั้น ปกติมักจะเกิดจากการประชุม ซึ่งบ่อยครั้งหลายคนไม่มีเวลาที่มากพอ ทำให้ไม่เกิดการแก้ปัญหาอย่างเต็มประสิทธิภาพ
และบ่อยครั้งการประชุมเพื่อการ brainstorming ก็ไม่ค่อยได้ไอเดียหรือความร่วมมือที่ดี
แพล๊ตฟอร์ม SMP สามารถช่วยได้ เพราะมีฟังก์ชั่นในการ brainstorming เพื่อขอคำแนะนำ และขอการสนับสนุน อีกทั้งสามารถให้ credit score ในความช่วยเหลือ เกิดให้มีแรงกระตุ้นทั้งองค์กรในความสัมพันธ์ความร่วมมือกัน
ความรู้ หรือ knowhow ต่างๆ จากการปรับปรุงแก้ไข ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบไฟล์หรือเอกสาร ที่ซึ่งเมื่อพนักงานนั้นลาออกหรือไม่ได้อยู่ในแผนกนั้นๆแล้ว มันก็จะหายตามไปด้วย ทำให้สูญเสีย knowhow ดีๆเหล่านี้ ให้กับพนักงานใหม่ๆ ที่จะได้เรียนรู้
แพล๊ตฟอร์ม SMP สามารถช่วยได้ เพราะทุกรายการที่ปรับปรุงแก้ไขแล้ว knowhow ต่างๆนั้นจะถูกจัดเก็บไว้ที่แพล๊ตฟอร์มนี้ ทำให้พนักงานใหม่ หรือพนักงานอื่นๆที่ต้องการพัฒนาตนเอง สามารถค้นหาและเรียนรู้ได้ง่าย
ความรู้ หรือ knowhow ต่างๆ จากการปรับปรุงแก้ไข ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบไฟล์หรือเอกสาร ที่จัดเก็บในรูปแบบเอกสาร หรือ ในไฟล์กลาง มันยากและวุ่นวายในการค้นหา ( เพราะอะไรที่เข้าถึงยาก เราก็มักจะไม่ค่อยไปค้นหา )
แพล๊ตฟอร์ม SMP สามารถช่วยได้ เพราะทุกรายการที่ปรับปรุงแก้ไขแล้ว knowhow ต่างๆนั้นจะถูกจัดเก็บไว้ที่แพล๊ตฟอร์มนี้ ทำให้พนักงานใหม่ หรือพนักงานอื่นๆที่ต้องการพัฒนาตนเอง สามารถค้นหาและเรียนรู้ได้ง่าย
กระบวนการในการแก้ปัญหานั้น เราแบ่งได้ 5 รูปแบบ คือ
1. แบบดับอาการ ( Basic model )
2. แบบการแก้ไขปัญหาที่รุนแรง ( Static model )
3. แบบการแก้ไขปัญหาเรื้อรัง ( Dynamic model )
4. แบบการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ ( Creative model )
5. แบบการแก้ปัญหาเชิงป้องกัน ( Prevention model )
ดังนั้นถ้าพนักงานไม่มีความเข้าใจรูปแบบการแก้ปัญหา ย่อมส่งผลทำให้ขาดประสิทธิภาพที่ดีพอ
แพล๊ตฟอร์ม SMP สามารถช่วยได้ เพราะมีครบทั้ง 5 รูปแบบให้สามารถเลือกได้ถูกต้อง ทำให้ไม่หลงประเด็นในการแก้ไข แยกแยะได้อย่างถูกต้อง ส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพสูง
ถ้าบริษัทของท่าน มีการแก้ปัญหาโดยอาศัยความรู้สึกในการแจกแจงข้อมูล วิเคราะห์ ดำเนินการ และสรุปผล
ไม่สามารถจับต้องได้ ส่งผลทำให้ปัญหาไม่หายขาด เกิดซ้ำซาก
เช่น พนักงานแจ้งว่ามีของเสียเกิดขึ้น เมื่อถามว่าเกิดจากอะไร , พนักงานแจ้งว่าน่าจะเกิดจากความร้อนของเครื่องจักรที่สูงเกินไป ส่งผลทำให้เกิดของเสีย
ถ้าเราใช้ความรู้สึก ไม่ใช่ข้อมูลความร้อนเครื่องจักรจริงๆ ก็จะส่งผลทำให้การแก้ปัญหาของเสียไม่ได้ผล
แต่ด้วยแพล๊ตฟอร์ม SMP สามารถช่วยได้ เพราะในแพล๊ตฟอร์มต้องใช้ข้อมูลเชิงตัวเลขในการแจกแจง วิเคราะห์ ดำเนินการและสรุปผล ( เครื่องมือทางสถิติ ) ทำให้แก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การมอบหมายงานมีทั้ง งานตามนโยบาย KPI หรือ งานประจำวัน ที่ต้องดำเนินการแก้ปัญหา ซึ่งแต่ละคนก็จะมีหลายเรื่องที่ต้องแก้ไข ส่งผลทำให้หัวหน้างานจดจำได้ไม่ครบถ้วน อาจจะตกหล่น หลงลืมในการติดตาม
ส่งผลทำให้อาจจะทำให้เกิดความล่าช้ากว่าแผนที่กำหนดไว้ ส่งผลเสียต่อแผนกหรือบริษัท
แพล๊ตฟอร์ม SMP สามารถช่วยได้ เพราะมีระบบการติดตามผลได้ 100% และสามารถรู้สถานะความคืบหน้าได้
ทำให้ช่วยกระตุ้นเตือน ให้ดำเนินการให้เป็นไปตามแผนงาน และไม่ส่งผลเสียต่อองค์กร
การมอบหมายงานมีทั้ง งานตามนโยบาย KPI หรือ งานประจำวัน ที่ต้องดำเนินการแก้ปัญหา ซึ่งแต่ละคนก็จะมีหลายเรื่องที่ต้องแก้ไข ส่งผลทำให้หัวหน้างานจดจำได้ไม่ครบถ้วน อาจจะตกหล่น หลงลืมในการติดตาม
ส่งผลทำให้อาจจะทำให้เกิดความล่าช้ากว่าแผนที่กำหนดไว้ ส่งผลเสียต่อแผนกหรือบริษัท
แพล๊ตฟอร์ม SMP สามารถช่วยได้ เพราะมีระบบการติดตามผลได้ 100% และสามารถรู้สถานะความคืบหน้าได้
ทำให้ช่วยกระตุ้นเตือน ให้ดำเนินการให้เป็นไปตามแผนงาน
เรารับพนักงานเข้ามาทำงาน โดยความมุ่งหวังให้ทำงาน/กระบวนการตามมาตรฐาน ประมาณ 60-80% แต่อีก 20-40% จะเป็นการพัฒนาปรับปรุงงานให้ดีขึ้น เพื่อลดความสูญเปล่า ลดต้นทุน สร้างผลกำไรให้เพิ่มขึ้น
ซึ่งทุกๆปี เราปรับเงิน ปรับตำแหน่ง ให้โบบัส กับพนักงานนั้น ตามคุ้มค่ากับความมุ่งหวังเหล่านั้น
แต่หลายองค์กรกลับไม่สามารถประเมินความสามารถในการปรับปรุงงานได้อย่างเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน
แพล๊ตฟอร์ม SMP สามารถช่วยได้ เพราะมีระบบในการประเมินความสามารถในการปรับปรุงงาน ทั้งในด้าน hard skill ( การลงมือปฎิบัติให้ได้ตามเป้าหมาย ) และ soft skill ( ความสามารถในการสื่อสาร / การทำงานร่วมกัน ) ต่างๆ สามารถวัดผลออกมาได้ชัดเจน ทำให้คุ้มค่าต่อตำแหน่งงานนั้นๆ
ถ้าองค์กรของคุณมีปัญหาในการประเมินผลงานพนักงาน เพราะพนักงานไม่ได้ทำการปรับปรุงได้มากเท่าที่ควร
เสียเวลารวบรวมข้อมูล ข้อมูลตกหล่นส่งผลทำให้พนักงานดี/เก่ง พลาดโอกาสในการเติบโต
และทำให้พนักงานเหล่านั้นลาออก ( องค์กรสูญเสียบุคลากรดีๆ )
แพล๊ตฟอร์ม SMP สามารถช่วยได้ เพราะมีระบบ data analysis ให้กับผู้บริหารในการประเมินศักยภาพของพนักงานได้ทุกคน ตามความเป็นจริง ทั้งในด้าน hard skill และ soft skill ได้อย่างแม่นยำ ( ไม่ต้องเสียเวลาในการรวบรวม สรุปผล เพราะระบบประเมินให้แบบ real time อัตโนมัติ )
ฉะนั้นข้อมูลที่แม่นยำเหล่านี้จะทำให้เกิดการกระตุ้นให้พนักงานเกิดการพัฒนาตนเอง ส่งผลให้เกิดการแข่งขันในเชิงบวก และทำให้องค์กรเติบโต มีต้นทุนที่ต่ำลง และผลกำไรเพิ่มขึ้น
ประโยชน์ที่ลูกค้าได้รับ
1. ตัวชี้วัดต่างๆตามนโยบายบรรลุผลได้มากกว่า 85%
2. และยังทำให้สามารถลดต้นทุน ได้ไม่ต่ำกว่าปีละ 1 ล้านบาท
3. สร้างจิตสำนึกให้เกิดความคิดปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
4. สามารถลดขั้นตอนการสร้าง จัดเก็บ ค้นหา ด้วยรูปแบบเดิมๆ
แต่ให้มารวบรวมอยู่ในที่เดียวกันในแพล๊ตฟอร์มนี้ ทำให้ประสิทธิภาพ
ในการแก้ปัญหาใหม่ๆ ได้รวดเร็วขึ้น
📄
การมอบหมาย
ได้ทั้งงานนโยบายหรืองานประจำวัน
☑
การติดตามงาน
ทำให้งานทั้งหมดของทุกคนไม่ตกหล่น
🕞
รู้สถานะความคืบหน้างาน
กระตุ้นให้เกิดการดำเนินการให้ทันตามเวลา
📋
การบันทึกที่ง่าย
ด้วยเทมเพลตที่ออกแบบมาให้บันทึกข้อมูลที่ง่ายและรวดเร็ว
⊡
การสื่อสารแบบตัวต่อตัว
สามารถพูดคุยกับหัวหน้าเพื่อขอตำแนะนำได้ง่าย
ตามแต่ละรายการ ไม่ปะปนกัน
▣
การสื่อสารแบบหลายกลุ่ม
สามารถพูดคุยเพื่อ brain storming กับหลากหลายกลุ่ม
🧾
สร้างรายงาน (report) ได้ทันที
หมดปัญหากวนใจเรื่องการทำรายงานให้หัวหน้าเพื่อตรวจสอบและอนุมัติ
⁂
การอนุมัติง่าย (e-approval)
สามารถอนุมัติผ่านระบบ ไม่ต้องสิ้นเปลืองเอกสารในการขออนุมัติ
✍️
การเรียกใช้งาน ( e-learning )
ใช้เป็นศูนย์เรียนรู้ และ knowhow ส่งต่อให้กับพนักงานใหม่
➎
5 Model เพื่อการแก้ปัญหา
ปัญหาที่เกิดขึ้น จะมีกระบวนการแก้ปัญหาที่แตกต่าง
จึงสามารถเลือกให้ถูกกับปัญหานั้น
★
การจัดสรรเวลาเพื่อการแก้ปัญหา
สามารถบริหารเวลาในการแก้ปัญหาแต่ละรายการ
❅
AI ช่วยในการวิเคราะห์
ด้วยข้อมูล big data จะช่วยในการวิเคราะห์และหาแนวทางแก้ปัญหา ทำให้ลดความผิดพลาดในการลองผิดลองถูก
∎
การประเมินศักยภาพรายบุคคล
พนักงานสามารถรู้ศักยภาพของตน เพื่อการพัฒนาตนเอง
✹
การประเมินศักยภาพของผู้ใต้บังคับบัญชา
หัวหน้าสามารถเห็นความสามารถของพนักงานทั้งหมดของตน ทำให้เกิดส่งเสริมอย่างต่อเนื่อง
⬤
การประเมินภาพรวมขององค์กร
ข้อมูลเชิงตัวเลขในภาพรวมของบริษัท เพื่อกำหนดทิศทางและแนวทางในการบริหารจัดการ